โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก
JANOKRONG SCHOOL PHITSANULOK
  • หน้าแรก
  • /
  • ข้อมูลโรงเรียน
  • เลขที่ 23/17 ถนนจ่านกร้อง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก รหัสไปรษณีย์ 65000

    โรงเรียนจ่านกร้อง ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2504 เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย นายมานะ เอี่ยมสกุล อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ในปี 2505 นายสนิธ บำรุงพันธ์ รักษาการตำแหน่งครูใหญ่ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 004 ขนาด 8 ห้องเรียน 1 หลัง โดยใช้บริเวณโรงเรียนการช่าง (โรงเรียนช่างไม้เดิม) จึงอาศัยเช่าที่บริเวณวัดคูหาสวรรค์ เป็นสถานที่ก่อสร้างเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2505 ได้ย้ายออกจากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ต่อมาในปี 2519 กรมสามัญศึกษา อนุมัติให้ยุบโรงเรียนระดับประถมศึกษาจัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ปี 2520 เริ่มการจัดการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากนั้นกรมสามัญศึกษาและคณะกรรมการศึกษาจัดซื้อที่ดินเพิ่ม 2 ไร่ 1 งาน และปี 2523 เริ่มจัดการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปัจจุบัน โรงเรียนจ่านกร้องเปิดสอน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

    โรงเรียนจ่านกร้อง เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท โรงเรียนหลัก ขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ รหัสโรงเรียน 65100256 (โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาเดิม) เปิดทำการสอนในระดับ ช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาปีที่ 1–มัธยมศึกษาปีที่ 6) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 23/17 ถนนจ่านกร้อง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 มีพื้นที่ 12 ไร่ 1 งาน 2 ตารางวา โทรศัพท์ติดต่อหมายเลข 0-5524-2588, 0-5525-8420 หมายเลขโทรสาร0-5524-5743 Website : http://www.jr.ac.th ในปีการศึกษา 2564 มีนักเรียน 2,259 คน ผู้บริหารโรงเรียนคือ นายเมธี ศรีรันต์

    โรงเรียนจ่านกร้องเป็นผู้นำด้านการใช้เทคโนโลยีพัฒนาการเรียนรู้ มุ่งสู่มาตรฐานสากล ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    1.จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากล
    2.ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษ ที่ 21
    3.เสริมสร้าง คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ สำนึกในความ เป็นไทย และ วิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    4.พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ คุณธรรม มีทักษะและคุณภาพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
    5.พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมด้วยระบบคุณภาพ

    1.ผู้เรียนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ มีสมรรถนะ ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
    2.ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม ที่พึงประสงค์ ดำรงตนเป็นคนดีอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
    3.ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
    4.สถานศึกษามีการบริหาร จัดการศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากล

    เรียนดี กีฬาเด่น เน้นมารยาท เปรื่องปราชญ์ศิลป์
    ผู้หมั่นเสมอ ย่อมมีโอกาสสำเร็จ
    แสดงออกอย่างสร้างสรรค์
    กิจกรรมดี ดนตรีเด่น เน้นเทคโนโลยี